ขั้นตอนการขอกู้ยืมกองทุน กยศ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนฯ พ.ศ.2541 มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ตลอดจนค่าใช้จ่าที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงินกองทุนฯ กยศ. - มีสัญชาติไทย
- รายได้ครอบครัวรวมกันไม่เกิน 200,000.00 บาท ต่อปี
- ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
- ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างการศึกษา
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นหรือเคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
- เป็นผู้มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
- เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย
- เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัด ควบคุม หรือกำกับดุแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือส่วนราชการอื่นๆ
- ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้ โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
- ขั้นตอนการขอกู้ยืมเงินกองทุนฯ กยศ.
นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ต้องดำเนินการขอกู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ที่เว๊ปไซต์ของสนง.กองทุนฯ www.studentloan.or.th โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ - ลงทะเบียนขอรหัสผ่านเพื่อเข้าระบบ e-studentloan : (สำหรับนักศึกษาที่ยังไม่เคย Register) โดยใช้เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เป็น username และกำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าสุ่ระบบ e-studentloan โดยรอผลการตรวจสอบทะเบียนราษฎร์
- ยื่นแบบคำขอกู้ในระบบ : ผู้ที่มีรหัสผ่านแล้ว สามารถเข้าระบบไปกรอกแบบคำขอกู้ยืมในระบบ e-studentloan โดยเลือกตามระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) ระบุเลือกความประสงค์ขอกู้ค่าเล่าเรียน/ค่าครองชีพ
- รอสถานศึกษาเรียกสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้มีสิทธิ์กู้ยืม กยศ. : โดยสถานศึกษาจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเป็นรายปี ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ยืม จากแบบคำขอกู้ยืมฯของนักศึกษา และสอบสัมภาษณ์ ภายในกรอบวงเงินที่จัดสรรให้
- เปิดบัญชี : ผู้กู้ยืมที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยฯแล้ว ให้นศ.เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทย สาขาใดก็ได้เพื่อรับโอนเงินค่าครองชีพเมื่อเปิดภาคเรียน
- ทำสัญญา : นักศึกษาที่ได้รับสิทธิ์การกู้ยืมเงิน ให้เข้าไปดำเนินการทำสัญญากู้ยืมเงินผ่านระบบ e-studentloan โดยต้องสั่งพิมพ์สัญญาจำนวน 2 ชุด (ต้นฉบับและคู่ฉบับ) ดำเนินการให้ผู้ค้ำประกัน พยาน และผู้แทนของสถานศึกษาร่วมลงนามในสัญญาทั้ง 2 ฉบับ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบสัญญาและสัญญากู้ยืม ส่งให้สถานศึกษา (แผนกทุนการศึกษา) โดยจะกำหนดวันเวลาการส่งสัญญาฯให้นศ.ทราบ
- เซ็นแบบยืนยันค่าเล่าเรียน/ค่าครองชีพ : เมื่อมหาวิทยาลัยฯตรวจสอบความถูกต้องของสัญญากู้ยืมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยฯจะกำหนดวันและเวลาให้นักศึกษาลงลายมือชื่อในแบบยืนยันค่าเล่าเรียน/ค่าครองชีพ
- นักศึกษารอรับเงินค่าครองชีพ : นักศึกษาจะสามารถเบิกเงินค่าครองชีพได้จากบัญชีธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารจะโอนเงินค่าครองชีพเดือนแรกให้นศ.ภายใน 3 วัน หลังจากที่มหาวิทยาลัยยืนยันข้อมูลผ่านระบบ และในเดือนต่อๆไป วันที่ ที่นักศึกษาได้รับการโอนเงินจะตรงกันกับวันที่โอนในเดือนแรกที่นักศึกษาได้รับ เช่นเดือนแรกได้รับโอนค่าครองชีพ วันที่ 1 มิ.ย. ในเดือนต่อๆไปจะได้รับทุกวันที่ 1 (เป็นเวลา 6 เดือน)
- เอกสาร/หลักฐานประกอบการขอกู้ยืมเงินกองทุนฯ กยศ.
ให้นักศึกษาส่งแบบคำขอกู้ยืม พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ 1. แบบคำขอกู้ยืม (กยศ. 101) 2. เอกสารของผู้ยื่นขอกู้ - รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
- สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาหน้าสมุดหน้าบัญชี
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล และเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
- สำเนาสัญญาเงินกู้ กยศ. ปีที่ผ่านมา หรือสำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีที่เคยมีประวัติการกู้ยืม กยศ. มาจากสถาบันอื่น)
- ปริ้นแบบคำขอกู้ยืมที่นักศึกษาเข้าไปกรอกผ่านระบบ e-studentloan
3. เอกสารของบิดา มารดา - สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือรับรองเงินเดือน ของบิดา มารดา (ถ้ามี)
- สำเนาใบหย่า (ถ้ามี)
- สำเนาใบมรณบัตร (ถ้ามี)
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล และเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
4. เอกสารของผู้ปกครอง หรือผู้อุปการะ (เฉพาะนักศึกษาไม่ได้อยู่ในการอุปการะจากบิดา มารดา) - ลำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือรับรองเงินเดือน (ถ้ามี)
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล และเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
- เอกสารของผู้รับรองรายได้ และรับรองสถานภาพของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
- สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ
เรื่องอื่นที่ควรถือปฏิบัติ - ต้องไม่ทำสัญญาเกินขอบเขตวงเงินกู้ยืมทีได้รับ
- กรณีที่ต้องการแก้ไขแห่งใดในสัญญา ต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมกำกับด้วยทุกครั้ง
- เอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าของเอกสารเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง ได้แก่ ผู้กู้ยืม บิดา มารดา ผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน ผู้รับรองเงินเดือนหรือรายได้ อาจารย์แนะแนวอละอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น
- ผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกัน ผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้กู้ยืมยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
- ผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกัน ผู้แทนโดยชอบะรรม (กรณีที่มิใช่บิดาหรือมารดา)ให้ใช้ทั้ง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน และต้องรับรองสำเนาด้วยตนเองทุกฉบับ ในกรณีที่ผู้ค้ำประกัน ผู้เทนโดยชอบธรรม เป็นบุคคลเดียวกันให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านเพียงชุดเดียว
- เอกสารสัญญาจัดทำขึ้น 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันโดยผู้กู้ยืมต้องจัดเก็บสัญญากู้ยืมคู่ฉบับไว้กับตนเองจนกว่าจะชำระหนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว
- เพื่อสิทธิประโยชน์ในอนาคตของผู้กู้ยืม ต้องแจ้งสถานภาพกับธนาคารกรุงไทย ได้ทราบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว (ใช้แบบฟอร์ม กยศ.203)
- หากผู้กู้ยืม ไม่ได้ขอกู้ยืมเงินหรือไม่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินต่อเนื่องในปีการศึกษาปัจจุบันและไม่รายงานสถานภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการกองทุนฯ จะถือว่าผู้กู้ยืมได้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว
Last Updated ( Tuesday, 22 February 2011 10:24 ) |